1.ทักษะการจัดการ
ทักษะการจัดการ หมายถึง
ความสามารถของบุคคลหนึ่งที่สามารถจะจัดระบบงาน
และระบบตนให้ทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ขั้นตอนการวางแผนงานการจัดองค์กร การจัดหาคน
การแบ่งหน้าที่ปฏิบัติงาน การควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กำหนด
ไปจนถึงการติดตามและประเมินผล ทักษะการจัดการแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
(1)
การจัดการระบบงาน (การทำงานเดี่ยว) โดยสามารถจัดสรรเวลาการทำงานให้เป็นระบบ
ปฏิบัติงานตามกฎระเบียบแบบแผน และขั้นตอนต่างๆ รวมไปถึงการเป็นผู้ที่มองทางไกล
ฉลาด มีไหวพริบ รอบรู้ ทันคน ทันเหตุการณ์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
และความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อเท็จจริง
มีความมุมานะที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย
รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แปลกใหม่อยู่เสมอ
(2) การจัดการระบบคน (การทำงานกลุ่ม) โดยมีความสามารถในการคัดเลือกคนเข้าทำงานแบ่งปัน
จัดสรรคนให้เหมาะสมกับงาน
มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศในการทำงานสามารถชักจูงเพื่อนร่วมงานให้มีเป้าหมายเดียวกัน
ร่วมมือ ร่วมใจกันทำงานจนสำเร็จ รวมถึงการเป็นคนที่มีมนุษยสัมพันธ์ มีความขยัน
อดทน ซื่อสัตย์และยุติธรรม เพื่อให้เพื่อนร่วมงานเกิดความพอใจ และเสมอภาค
ยินดีที่จะทำงานด้วยความเต็มใจ
2.ทักษะที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพ
ทักษะใดสำคัญที่สุด
เพราะอะไร
- ทักษะกระบวนการทำงาน คือมีขั้นตอนในการทำงาน
ได้แก่
1)
การวิเคราะห์งาน การมองภาพรวมของงานที่ได้รับมอบหมาย
ว่าเป้าหมายของงานคืออะไร ผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานคืออะไร
และจะทำอย่างไรให้งานสำเร็จ
เช่น
การที่เราได้รับมอบหมายให้ทำรายงานส่ง เราจะต้องคิดว่า เราต้องทำรายงาน
รูปแบบรายงานเป็นอย่างไร งานที่ได้รับหมอบหมายมา
เกินความสามารถที่เราจะทำได้หรือไม่ ต้องการให้ผู้ปกครองช่วยหรือไม่
2) การวางแผนในการทำงาน
การกำหนดระยะเวลาการดำเนินงาน กำลังคนที่ใช้ในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
วัสดุอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน และวิธีการเพื่อให้งานสำเร็จ
โดยประหยัดเวลา ประหยัดแรงงาน และค่าใช้จ่ายไปพร้อมกัน
เช่น
การที่เราจะทำรายงานที่ได้รับมอบหมายมา เราจะทำเรื่องอะไร ทำจำนวนกี่หน้า
รายละเอียดเป็นอย่างไร ควรหาข้อมูลจากไหน ข้อมูลที่ได้
เมื่อนำมาอ่านและทำความเข้าใจแล้ว มีความเป็นจริงน่าเชื่อถือหรือไม่
3) การลงมือทำงาน การทำงานตามแผนที่วางไว้
ด้วยความอดทนและความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ
และแก้ปัญหาในการทำงาน ซึ่งถือว่าเป็นประสบการณ์
และมีประโยชน์ต่อตัวเองในการเกิดปัญหาในการทำงานครั้งต่อไป
เช่น เราลงมือทำรายงานเริ่มโดยการ
สืบค้นข้อมูลที่เราจะทำรายงาน เรื่อง การเปลี่ยนแปลงของโลกจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
อาจจะหาข้อมูลจากหนังสือ หรือการหาจากอินเทอร์เน็ต
แล้วนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีค่าความจริงสูง
รวมทั้งจัดทำหารรวบรวมแล้วทำรายงานออกมาเป็นรูปเล่มหรือสไลด์โชว์ เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นด้วย โดยการนำเสนอรูปแบบต่างๆนั้น
ควรคำนึงถึงความถูกต้องประกอบกับความสวยงามด้วย
เพื่อให้รายงานนั้นมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น
4) การประเมินผลการทำงาน เป็นการตรวจสอบ
ทดสอบหรือทดลองใช้ตั้งแต่การวางแผนการทำงานว่ารอบคอบ รัดกุม และสามารถปฏิบัติตามได้หรือไม่
รวมถึงประมวลผลการแก้ปัญหาในการทำงาน
รวมทั้งประเมินผลงานที่สำเร็จแล้วว่ามีคุณภาพตามเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่
ใช้เวลา ค่าใช้จ่าย และแรงงานเหมาะสมหรือไม่
เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรับปรุงแผนงาน การทำงาน
และผลงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
เช่น จากการที่ได้ทำรายงาน แล้วนำเสนอแล้ว
ควรถามความคิดเห็นของผู้ที่ได้ดูการนำเสนอหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้เรานำความคิดเห็น คำแนะนำ มาปรับปรุงผลงาน
เพื่อให้งานมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ที่มา : หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น