วันพุธที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

(แก้) ทักษะการแสวงหาความรู้ (งานที่ 6)


1. ทักษะการแสวงหาความรู้
ทักษะการแสวงหาความรู้ คือ การค้นคว้าหาความรู้ และสามารถสร้างความรู้ใหม่เพิ่มเติมได้อาจจะมาจากการคิด การศึกษา การทดลอง การค้นคว้า หรือปฏิบัติด้วยตนเอง แล้วนำมาวิเคราะห์เพื่อเกิดความรู้ใหม่ ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้เดิมที่มีอยู่ โดยการศึกษาค้นคว้านั้น ไม่จำกัดว่าจะมาจากแหล่งความรู้ใด อาจเป็นความรู้ในห้องเรียน ความรู้ตามป้ายสถานที่ต่างๆไปจนถึงสื่ออื่นๆ
(1) กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้ คือการตั้งหัวข้อประเด็นในการศึกษาค้นคว้า กำหนดขอบเขตของหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการจะค้นคว้า พยายามอธิบายและแสดงความคิดเห็นต่อหัวข้อที่ต้องการจะสืบค้นข้อมูลความรู้
(2) การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้ เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลความรู้จากที่ใด อย่างไร ควรเริ่มต้นเมื่อใดเป็นต้น
(3) การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ คือ การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ ตามแผนงานที่วางไว้
(4) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นความรู้ คือ การนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ค้นหา หรือ ได้รับมา มาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล รวมไปถึงการจำแนกจัดกลุ่ม และจัดลำดับข้อมูล
(5) การสรุปผลจากการสืบค้นความรู้และบันทึกจัดเก็บ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ออกมาตามขอบเขตของหัวข้อที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา เช่น จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ จดบันทึกไว้ในสมุด ถ่ายเอกสารเก็บไว้ในแฟ้ม เป็นต้น

2. เพราะเหตุใด จึงต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าของอาชีพที่ตนเองทำอยู่เสมอ 

ศึกษาโดยการออกไป ศึกษางาน หรือการได้รับรู้ มองเห็นการทำงานของต้นแบบที่ดี เช่น การช่วยคนอื่นในการทำงาน เราก็จะได้เห็น และรับรู้ขั้นตอนการทำงานที่ดี  เพราะเราสามารถนำความรู้ และเทคนิคมาพัฒนางานของตนเอง และยังสามารถประยุกต์ใช้กับงานอื่นๆ เพื่อให้เราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่พึงพอใจของตนเองและผู้ที่มอบหมายงาน  โดยขั้นตอนการทำงานที่ดี ได้แก่

 (1) กำหนดปัญหาในการสืบค้นข้อมูลความรู้ การตั้งหัวข้อประเด็นในการศึกษาค้นคว้า กำหนดขอบเขตของหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการจะค้นคว้า พยายามอธิบายและแสดงความคิดเห็นต่อหัวข้อที่ต้องการจะสืบค้นข้อมูลความรู้  เช่น การจะหาความรู้เกี่ยวกับการซ่อมรถจักรยาน เราก็กำหนดตำแหน่งหรือจุดที่จะศึกษาให้ชัดเจน
(2) การวางแผนในการสืบค้นข้อมูลความรู้ เมื่อคิดหาหัวข้อหรือประเด็นที่เราต้องการจะสืบค้นได้แล้ว ควรวางแผน กำหนดเป้าหมายว่าจะสืบค้นข้อมูลความรู้จากที่ใด อย่างไร ควรเริ่มต้นเมื่อใดเป็นต้น  เช่น การจะศึกษาการทำงานของกลไกรถจักรยานยนต์ เราจะศึกษาโดยการสอบถามคนที่มีความรู้หรือเราจะศึกษาจากเว็บไซต์
(3) การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ตามแผนที่กำหนดไว้ คือ การดำเนินการสืบค้นข้อมูลความรู้ในหัวข้อที่ต้องการ ตามแผนงานที่วางไว้  เช่น การค้นหาการทำงานของกลไกรถจักรยานยนต์ จากเว็บไซต์อินเทอร์เน็ต
(4) การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสืบค้นความรู้ คือ การนำข้อมูลต่างๆ ที่ได้ค้นหา หรือ ได้รับมา มาพิจารณาอย่างละเอียดถึงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของข้อมูล รวมไปถึงการจำแนกจัดกลุ่ม และจัดลำดับข้อมูล เช่น การที่เราได้รับข้อมูลแล้ว นำมาวิเคราะห์ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง แล้วนำมาเรียบเรียงหรือจัดหมวดหมู่
(5) การสรุปผลจากการสืบค้นความรู้และบันทึกจัดเก็บ เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆได้ออกมาตามขอบเขตของหัวข้อที่กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้น ควรบันทึกจัดเก็บข้อมูลที่รวบรวมมาได้ต่างๆในรูปแบบที่ง่ายต่อการค้นหา เช่น จัดเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หรือสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ จดบันทึกไว้ในสมุด ถ่ายเอกสารเก็บไว้ในแฟ้ม เช่น การทำรายงานหรือจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานของกลไกรถจักรยานยนต์เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลในการทำงาน

ที่มา : หนังสือการงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 

1 ความคิดเห็น: